บริการอื่นๆ

รักษาสิว ( Acne Clear )

S__1703962

บริการรักษาสิว

ชลิตาคลินิกให้บริการด้านการรักษาสิวและหลุมสิวโดยคุณหมอมะเหมี่ยวและคุณหมอสัน คนไข้จะได้รับการประเมินใบหน้าเพื่อดูระดับความรุนแรงของสิว ซึ่งการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล คุณหมอจะประเมินการรักษาให้ตามความเหมาะสม

ซึ่งการรักษาสิวที่ชลิตาคลินิกประกอบไปด้วย

  • การสั่งยาทารักษาสิวโดยแพทย์
  • การสั่งยาฆ่าเชื้อในการรักษาสิว
  • การกดสิวอุดตันและการฉีดสิวอักเสบ
  • การทำทรีทเม้นท์รักษาสิว
  • การทำเลเซอร์ลดรอยดำจากสิว
  • การรักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์

 

สิวและการรักษาสิว

สิวเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ สิวเป็นโรคที่การอักเสบเรื้อรังของหน่วยรูขนและต่อมไขมัน (Pilosebaceous gland) โดยมากมักเป็นบริเวณ ใบหน้า ลำคอ หลังและลำตัวส่วนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันใหญ่อยู่อย่างหนาแน่น (Seborrheic area) สิวมักปรากฏในวัยหนุ่มสาวในช่วงอายุ 20-30ปี แต่บางคนเป็นๆหายๆ จนเข้าสู่ในวัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมให้เกิดสิวและประวัติสิวในครอบครัว

S__1703964

4 กลไกหลักการเกิดสิว

1.Follicular epidermal hyperproliferation การแบ่งเซลล์และการผลัดเซลล์ผิวหนังในรูขนทำให้เกิดการอุดตันในท่อรูขน (Micro comedone) โดยฮอร์โมนแอนโดรเจนป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นขง Keratinocyte ในขุมขน

2.Excess sebum production การสร้างไขมัน (sebum) เพิ่มขึ้นในต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ฮอร์โมนแอนโดรเจนมีอิทธิพลต่อต่อไขมันให้สร้าง Sebum เพิ่มขึ้น ซึ่ง Triglyceride ใน Sebum จะถูก P.acne ย่อนสลายให้แตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งส่งผลทำให้ P.acne เพิ่มจำนวนขึ้นและก่อให้เกิดการอักเสบได้

3.Propionibacterium acnes ( P.acne ) เป็น bacteria ที่เป็น normal flora ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนและต่อมไขมัน P.acne จะหลั่งเอนไซม์ที่ทำให้ Comedone แตกและ chemotactic factor กระตุ้นภูมิคุ้มกันทำให้เกิดการอักเสบได้

4.Inflammation การอักเสบที่เกิดจากการแตกตัวของ Comedone และกรเพิ่มจำนวนของ P.acne

พอเราทราบ 4 กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสิวแล้ว จะทำให้การรักษาสิวถูกต้องแม่นยำและสามารถพยากรณ์ตัวโรคได้

S__1703965

การรักษาสิว

การรักษาสิวนั้นขึ้นอยู่ความรุนแรงของสิว ตำแหน่งของสิว รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น อายุ เพศ และผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความสะดวกในการบริหารยาและผลข้างเคียงจากยารักษาสิว

1.การให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ป่วย

-อธิบายถึงสาเหตุ ปัจจัยกระตุ้นและการดำเนินโรคของสิวที่มักจะเรื้อรังและกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย

-หลังการรักษา สิวจะเริ่มดีขึ้นในเวลาประมาณ 2-3เดือน และจะดีขึ้นมากในเวลา 4-8เดือน โดยสิวจะดีขึ้น 20% หลังการรักษาต่อเนื่อง 2เดือน ดีขึ้น 40% หลังการรักษาต่อเนื่อง 4เดือน ดีขึ้น 60% หลังการรักษาต่อเนื่อง 6เดือน ดีขึ้น 80% หลังการรักษาต่อเนื่อง 8เดือน ตามลำดับ

-หลังจากการรักษาสิวเมื่ออาการดีขึ้นสิวยุบแล้ว ควรแนะนำให้ ยาทา ต่อเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ (Maintanace treatment)

2.การรักษาหลักคือ การใช้ยา ( ยาทา และ ยารับประทาน ) ที่ออกฤทธิ์แก้ไข 4 สาเหตุหลักของการเกิดสิวที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว

S__1703966

ยาทา

  1. BP5 : วิธีใช้ ทาทั่วหน้า เช้า เย็น

ควรเริ่มทาระยะสั้นๆแล้วล้างออก จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเวลาทายาให้นานขึ้น

( เริ่ม 5นาที และค่อยๆปรับนานขึ้นถึง 10 นาที ) *การทายานานกว่านี้ไม่เกิดประโยชน์และยังทำให้หน้าแห้ง ผิวแดง ลอกได้*

ข้อควรระวัง ระวังอย่าให้โดนเสื้อผ้าหรือผม เพราะจะทำให้ ผ้าเสียหรือผมเปลี่ยนสีได้ ควรแต่งกายที่ง่ายต่อการล้างหน้า

  1. AP1 : วิธีใช้ ทาบางๆทั่วหน้า ก่อนปิดไฟนอน

หากมีการระคายเคืองให้ทาบางลง

ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  1. ยาแต้มสิว :วิธีใช้ แต้มเฉพาะสิวอักเสบ เช้า เย็น

ต้องใช้คู่กับ BP5 เสมอ เพื่อลดการดื้อยาของเชื้อโรคก่อสิว (P.acne)

  1. AZ20 : วิธีใช้ ทาเฉพาะรอยดำสิว รอยสิว ก่อนนอน

ยารับประทาน

แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ แต่ละบุคคล

1.ยาต้านจุลชีพ สำหรับผู้ที่เป็นสิวระดับกลางถึงรุนแรง

วิธีใช้ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น (ไม่ควรทานนานเกิน 12สัปดาห์ และไม่ควรให้น้อยกว่า 3สัปดาห์)

คำแนะนำ ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติแพ้ยาก่อนเสมอ , ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรก่อนเสมอ , ต้องใช้ควบคู่กับยาทาเสมอ

2.ยาประเภทฮอร์โมน ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ( Combined oralcontraceptive ) เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่เป็นสิวระดับกลางถึงรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน หรือบางรายที่พบปัญหาความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ (Endocrine acne)

วิธีใช้ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น (สิวเริ่มดีขึ้นหลังได้ยาเม็ดคุมกำเนิด 3 เดือน และมักให้นาน 6-12 เดือน)

คำแนะนำ ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติแพ้ยาก่อนเสมอ , ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรก่อนเสมอ

3.ยาอนุพันธ์วิตามินเอชนิดรับประทาน สำหรับผู้ที่เป็นสิวระดับกลางถึงรุนแรง

วิธีใช้ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น

คำแนะนำ ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติแพ้ยาก่อนเสมอ , ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรก่อนเสมอ

การรักษาสิวนั้นต้องอยู่การควบคุมของแพทย์และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง

S__1703967

การรักษาเสริม

1.ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว การใช้ผลินภัณฑ์บำรุงผิวสามารถใช้ได้ควบคู่กับการรักษาสิว แต่ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวจะช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงของยารักษาสิวที่พบบ่อยเช่น อาการผิวแห้ง แสบ แดง ระคายเคือง ผิวไวต่อแดด เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่เป็น oil-based หรือกันน้ำ(water proof) แป้งอัดแข็ง จะก่อให้เกิดการอุดตันได้มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็น water-based , Silicone derivatives [Cyclomethicone , Dimethicone] และแป้งฝุ่น

สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ผสมยาต้านแบคทีเรียที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อ P.acnes เช่น Chlohexidine,Triclosan เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นและยังก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผิวอ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Non-acnegenic , Non-comedogenic ) ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Non-irritant) ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ (Hypoallergenic) และไม่มีเม็ดขัดผิว (non-beed scrub)

ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นผิว Moisturizer จะช่วยป้องกันอาการผิวแห้งลอก ช่วยให้ผุ้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงของยาทารักษาสิวได้ดีขึ้น

การป้องกันแดด ด้วยหมวก ร่ม หรือครีมกันแดด (Sun screen) ที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ชนิดแบบไม่ก่อให้เกิดสิวและการอุดตัน เพื่อช่วยลดอาการผิวไวแสงที่เกิดจากยารักษาสิว และป้องกันรอยดำหลังการอักเสบ (Post inflammatory hyperpigmentation)

S__1703968

2.การฉีดสิว ใช้ในรักษาสิวอักเสบ (Intralesional steroid injection) ต้องอยู่การดูแลของแพทย์เท่านั้น
3.การใช้สารเคมีลอกสิว คือการทำ treatment รักษาสิว เช่น glycolic acid และ salicylic acid เป็นต้น
4.การใช้แสงเลเซอร์ แสงที่มีความเข้นข้น Intense pulse light ( IPL) photodynamic therapy และ Radiofrequency สามารถรักษาสิวได้และสามารถทำควบคู่กับการรักษาสิวหลักได้

สาเหตุของสิวมีหลายปัจจัย การรักษาสิวจึงควรใช้ยาหลากหลายอย่างร่วมกันเพื่อการแก้ไขพยาธิสภาพต่างๆที่เกิดขึ้นโดยพิจารณาเลือกการรักษาจากความรุนแรง ชนิดและตำแหน่งของรอยโรค รอยแผลที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของผู้ป่วย

โดยสิวจะเริ่มดีขึ้นหลังการรักษา 2-3 เดือน และเนื่องจากสิวเป็นโรคเรื้อรังมักจะกลับเป็นซ้ำ หลังจากรักษาสิวยุบหมดแล้ว ต้องใช้ยาทาต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

เขียนโดย : นายแพทย์พิสัณห์ สุขประเสริฐ
และแพทย์หญิงชลิตา สิรเมธี

บทความแนะนำ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น