News

รักษาสิว ( Acne Clear )

S__1703962

สิวและการรักษาสิว

สิวเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ สิวเป็นโรคที่การอักเสบเรื้อรังของหน่วยรูขนและต่อมไขมัน (Pilosebaceous gland) โดยมากมักเป็นบริเวณ ใบหน้า ลำคอ หลังและลำตัวส่วนบน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันใหญ่อยู่อย่างหนาแน่น (Seborrheic area) สิวมักปรากฏในวัยหนุ่มสาวในช่วงอายุ 20-30ปี แต่บางคนเป็นๆหายๆ จนเข้าสู่ในวัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมให้เกิดสิวและประวัติสิวในครอบครัว

S__1703964

4  กลไกหลักการเกิดสิว

1.Follicular epidermal hyperproliferation การแบ่งเซลล์และการผลัดเซลล์ผิวหนังในรูขนทำให้เกิดการอุดตันในท่อรูขน (Micro comedone) โดยฮอร์โมนแอนโดรเจนป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นขง Keratinocyte ในขุมขน

2.Excess sebum production การสร้างไขมัน (sebum) เพิ่มขึ้นในต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ฮอร์โมนแอนโดรเจนมีอิทธิพลต่อต่อไขมันให้สร้าง Sebum เพิ่มขึ้น ซึ่ง Triglyceride ใน Sebum จะถูก P.acne ย่อนสลายให้แตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งส่งผลทำให้ P.acne เพิ่มจำนวนขึ้นและก่อให้เกิดการอักเสบได้

3.Propionibacterium acnes ( P.acne ) เป็น bacteria ที่เป็น normal flora ที่อาศัยอยู่ในรูขุมขนและต่อมไขมัน P.acne จะหลั่งเอนไซม์ที่ทำให้ Comedone แตกและ chemotactic factor กระตุ้นภูมิคุ้มกันทำให้เกิดการอักเสบได้

4.Inflammation การอักเสบที่เกิดจากการแตกตัวของ Comedone และกรเพิ่มจำนวนของ P.acne

พอเราทราบ 4 กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดสิวแล้ว จะทำให้การรักษาสิวถูกต้องแม่นยำและสามารถพยากรณ์ตัวโรคได้

S__1703966

การรักษาสิว

การรักษาสิวนั้นขึ้นอยู่ความรุนแรงของสิว ตำแหน่งของสิว รอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น อายุ เพศ และผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความสะดวกในการบริหารยาและผลข้างเคียงจากยารักษาสิว

1.การให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ป่วย

-อธิบายถึงสาเหตุ ปัจจัยกระตุ้นและการดำเนินโรคของสิวที่มักจะเรื้อรังและกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย

-หลังการรักษา สิวจะเริ่มดีขึ้นในเวลาประมาณ 2-3เดือน และจะดีขึ้นมากในเวลา 4-8เดือน โดยสิวจะดีขึ้น 20% หลังการรักษาต่อเนื่อง 2เดือน  ดีขึ้น 40% หลังการรักษาต่อเนื่อง 4เดือน ดีขึ้น 60% หลังการรักษาต่อเนื่อง 6เดือน ดีขึ้น 80% หลังการรักษาต่อเนื่อง 8เดือน ตามลำดับ

-หลังจากการรักษาสิวเมื่ออาการดีขึ้นสิวยุบแล้ว ควรแนะนำให้ ยาทา ต่อเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ (Maintanace treatment)

2.การรักษาหลักคือ การใช้ยา ( ยาทา และ ยารับประทาน ) ที่ออกฤทธิ์แก้ไข 4 สาเหตุหลักของการเกิดสิวที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว

S__1703965

ยาทา

  1. BP5 : วิธีใช้ ทาทั่วหน้า เช้า เย็น

ควรเริ่มทาระยะสั้นๆแล้วล้างออก จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเวลาทายาให้นานขึ้น

( เริ่ม 5นาที และค่อยๆปรับนานขึ้นถึง 10 นาที ) *การทายานานกว่านี้ไม่เกิดประโยชน์และยังทำให้หน้าแห้ง ผิวแดง ลอกได้*

ข้อควรระวัง ระวังอย่าให้โดนเสื้อผ้าหรือผม เพราะจะทำให้ ผ้าเสียหรือผมเปลี่ยนสีได้ ควรแต่งกายที่ง่ายต่อการล้างหน้า

  1. AP1 : วิธีใช้ ทาบางๆทั่วหน้า ก่อนปิดไฟนอน

            หากมีการระคายเคืองให้ทาบางลง

ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  1. ยาแต้มสิว :วิธีใช้ แต้มเฉพาะสิวอักเสบ เช้า เย็น

ต้องใช้คู่กับ BP5 เสมอ เพื่อลดการดื้อยาของเชื้อโรคก่อสิว (P.acne)

  1. AZ20 : วิธีใช้ ทาเฉพาะรอยดำสิว รอยสิว ก่อนนอน

ยารับประทาน

แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ แต่ละบุคคล

1.ยาต้านจุลชีพ สำหรับผู้ที่เป็นสิวระดับกลางถึงรุนแรง

วิธีใช้ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น (ไม่ควรทานนานเกิน 12สัปดาห์ และไม่ควรให้น้อยกว่า 3สัปดาห์)

คำแนะนำ ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติแพ้ยาก่อนเสมอ , ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรก่อนเสมอ , ต้องใช้ควบคู่กับยาทาเสมอ

2.ยาประเภทฮอร์โมน ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ( Combined oralcontraceptive ) เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่เป็นสิวระดับกลางถึงรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน หรือบางรายที่พบปัญหาความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ (Endocrine acne)

วิธีใช้ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น (สิวเริ่มดีขึ้นหลังได้ยาเม็ดคุมกำเนิด 3 เดือน และมักให้นาน 6-12 เดือน)

คำแนะนำ ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติแพ้ยาก่อนเสมอ , ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรก่อนเสมอ

3.ยาอนุพันธ์วิตามินเอชนิดรับประทาน สำหรับผู้ที่เป็นสิวระดับกลางถึงรุนแรง

วิธีใช้ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น

คำแนะนำ ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติแพ้ยาก่อนเสมอ , ผู้ป่วยต้องแจ้งประวัติการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรก่อนเสมอ

การรักษาสิวนั้นต้องอยู่การควบคุมของแพทย์และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง

การรักษาเสริม

1.ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว การใช้ผลินภัณฑ์บำรุงผิวสามารถใช้ได้ควบคู่กับการรักษาสิว แต่ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวจะช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงของยารักษาสิวที่พบบ่อยเช่น อาการผิวแห้ง แสบ แดง ระคายเคือง ผิวไวต่อแดด เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่เป็น oil-based หรือกันน้ำ(water proof) แป้งอัดแข็ง จะก่อให้เกิดการอุดตันได้มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็น water-based , Silicone derivatives [Cyclomethicone , Dimethicone] และแป้งฝุ่น

สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ผสมยาต้านแบคทีเรียที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อ P.acnes เช่น Chlohexidine,Triclosan เป็นต้น ไม่มีความจำเป็นและยังก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผิวอ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (Non-acnegenic , Non-comedogenic ) ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Non-irritant) ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ (Hypoallergenic) และไม่มีเม็ดขัดผิว (non-beed scrub)

ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นผิว Moisturizer จะช่วยป้องกันอาการผิวแห้งลอก ช่วยให้ผุ้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงของยาทารักษาสิวได้ดีขึ้น

การป้องกันแดด ด้วยหมวก ร่ม หรือครีมกันแดด (Sun screen) ที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ชนิดแบบไม่ก่อให้เกิดสิวและการอุดตัน เพื่อช่วยลดอาการผิวไวแสงที่เกิดจากยารักษาสิว และป้องกันรอยดำหลังการอักเสบ (Post inflammatory hyperpigmentation)

 

2.การฉีดสิว ใช้ในรักษาสิวอักเสบ (Intralesional steroid injection) ต้องอยู่การดูแลของแพทย์เท่านั้น

 

3.การใช้สารเคมีลอกสิว คือการทำ treatment รักษาสิว เช่น glycolic acid และ salicylic acid เป็นต้น

 

4.การใช้แสงเลเซอร์ แสงที่มีความเข้นข้น Intense pulse light ( IPL) photodynamic therapy และ Radiofrequency สามารถรักษาสิวได้และสามารถทำควบคู่กับการรักษาสิวหลักได้

S__1703968

สาเหตุของสิวมีหลายปัจจัย การรักษาสิวจึงควรใช้ยาหลากหลายอย่างร่วมกันเพื่อการแก้ไขพยาธิสภาพต่างๆที่เกิดขึ้นโดยพิจารณาเลือกการรักษาจากความรุนแรง ชนิดและตำแหน่งของรอยโรค รอยแผลที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของผู้ป่วย

โดยสิวจะเริ่มดีขึ้นหลังการรักษา 2-3 เดือน และเนื่องจากสิวเป็นโรคเรื้อรังมักจะกลับเป็นซ้ำ หลังจากรักษาสิวยุบหมดแล้ว ต้องใช้ยาทาต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น