Office Syndrome คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชาจากปลายประสาทที่ถูกกดทับ จากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน พบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด
เกิดจากลักษณะท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม (Posture) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน
ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจน บางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆของร่างกายได้ อาการปวดอาจมักจะทำให้เกิดความรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน
บางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชาได้
อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป
ปรับเปลี่ยนท่าทางให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เช่น ไม่นั่งหลังค่อมหรือไหล่ห่อ โดยการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงและยืดกล้ามเนื้อก็เป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราอยู่ในอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมได้
ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ที่ทำงาน ปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่เพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
ปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถในระหว่างการทำงาน ควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทาง ยืดเหยียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง
ปัจจุบันการรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมมีหลายวิธี ตั้งแต่การปรับท่าทางของตัวเอง หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาได้เองที่บ้าน เช่น การยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง หรือหากมีอาการรุนแรง ก็สามารถรับการตรวจรักษากับแพทย์และทำกายภาพบำบัดหรือเวชศาสตร์ฟื้นฟูอื่นร่วมได้ โดยสามารถรักษาด้วยการรับประทานยาและใช้เครื่องมือ เช่น นวดแผนไทย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่อง TESLA Former และ Venus Legacy เป็นต้น
ซึ่งเครื่อง TESLA Former พัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Functional Magnetic Stimulation) มีความปลอดภัยสูง เทคโนโลยีนี้ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งและคลายเป็นจังหวะ ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ รวมถึงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core Muscle) จุดประสงค์ของเครื่องนี้คือทำให้เกิดการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และมีโหมดกายภาพบำบัด สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดได้
ส่วนเครื่องVenus Legacy ใช้คลื่นความถี่วิทยุแบบหลายขั้ว (Multipolar RF) ซึ่งคลื่นความถี่วิทยุ Radio frequency (เรียกสั้น ๆ ว่า RF) จะช่วยสร้างพลังงานความร้อนขึ้นมา เพื่อให้ความร้อนเข้าไปช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย จึงสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดได้